มีนาคม 25, 2022

Calibration-Bangpa-in.com

สอบเทียบเครื่องมือช่าง บางปะอิน

เครื่องมือ และ อุปกรณ์ ไฟฟ้า

เครื่องมือ และ อุปกรณ์ ไฟฟ้าที่ช่างควรมีติดบ้านไว้มีอะไรบ้าง

หากจะพูดถึงเครื่องมือ และ อุปกรณ์ ไฟฟ้าที่เป็นเครื่องมือช่างที่ควรมีติดไว้ที่บ้านเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าดับ หรือไฟฟ้าลัดวงจร เราก็สามารถทำการซ่อมแซมปรับปรุงระบบไฟฟ้าได้ด้วยตนเองได้โดยที่ไม่ต้องเรียกช่าง ซึ่งบอกได้เลยว่าถ้าเราไม่มีเครื่องมือเหล่านี้เราอาจจะต้องโทรเรียกช่างเพื่อหาคนมาซ่อมแซมซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำว่าเครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทใดบ้างที่เราจำเป็นจะต้องมีไว้ติดบ้าน

เครื่องมือไฟฟ้าที่ควรมีติดบ้านไว้ คืออะไร

ไขควงเช็คไฟฟ้า หรือ ไขควงลองไฟ (Test Lamp)

ไขควงเช็คไฟหรือ ไขควงลองไฟเป็นเครื่องมือช่างไฟฟ้าที่ไช้สำหรับตรวจสอบว่า ในจุดใดจุดหนีงของสายไฟ หรือจุดรวมสายไฟ หรือเต้ารับสวิตซ์นั้น มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหรือไม่ ซึ่งในส่วนประกอบของไขควงเช็คไฟหรือ ไขควงลองไฟนี้มีหลอดไฟอยู่ภายในส่วนของด้ามแต่ผู้ผลิตจะออกแบบดีไซน์ให้สะดวก และง่ายต่อการใช้งาน โดยมากจะออกแบบให้เป็นไขควงชนิดหัวแบนเล็ก เพื่อสะดวกในการตรวจสอบเฉพาะจุดไฟฟ้าเมือนำปลายหัวไขควงเช็คไฟหรือ ไขควงลองไฟแตะสัมผัสกับโลหะที่เป็นตัวนำไฟฟ้า โดยต่อเชื่อมเข้ากับสายไฟเส้น Line (ไลน์) ซึ่งเป็ นสายที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอยู่ หากมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านในโลหะตัวนำดังกล่าว หลอดไฟภายในด้ามไขควงเช็คไฟจะพลันสว่างขึ้นทันที แต่หากจุดๆ นั้นไม่มีกระแสไฟไหลผ่าน ตัวยอาจจะเป็นเพราะไม่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้ามาจากต้นทางหรือโลหะตัวนานนได้เชี่อมต่อกับเส้น Neutron (นิวตรอน) ซึ่งเป็นสายที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า หลอดไฟก็จะไม่ติดสว่างขึ้นเลย ดังนั้นหากนำไขควงเช็คไฟนี้ไปตรวจสอบรูปลั๊กเต้ารับ ทั้งสองรูจะต้องมีรูใดรูหนึ่งที่ทำให้หลอดไฟในไขควงเช็คไฟติดสว่างขึ้น (ไฟฟ้าระบบมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านที่เส้น Line เพียงเส้นเดียว) แต่หากปรากฏว่าหลอดไฟเกิดติดสว่างทั้งสองรูปลั๊กเต้ารับแล้ว นั่นหมายถึง การต่อไฟฟ้าผิดวงจร ตัดกระแสไฟฟ้าที่ต้นทางทันที่เพื่อรีบหาสาเหตุ แต่กรณีที่กล่าวมานี้ ไม่ใช่กรณีเดียวกันกับจุดเข้าสายของสวิตซ์หลอดไฟ เนื่องจากจุดเข้าสายทั้งสองจุดของสวิตซ์ต้องเชื่อมต่อกับสายไฟเส้นเดียวกันทำการเปิดสวิตช์ไฟกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เช่นนั้น หากคุณนำไขควงเช็คไฟหรือ ไขควงลองไฟไปแตะสัมผัส หลอดไฟในด้ามไขควงย่อมจะติดสว่างขึ้นทั้งสองจุด เพราะเป็นสายไฟเส้นเดียวกันนั่นเอง

คีม

เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับในการจับ ยึด ตัด ดัดงอ โค้งและปอกสายไฟซึ่งต้องมีด้ามที่เป็นฉนวนหุ้มกันกระแสไฟฟ้าดูด จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยในการทำงานคีมที่ใช้ในการเดินสายไฟโดยมีอยู่ด้วยกันหลายๆ  ขนาด เพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน

ค้อน

สำหรับใช้งานไฟฟ้ามีหลายชนิด เช่น ค้อนหงอน ทำด้วยเหล็กด้านหน้าเรียบ หงอนด้านบนใช้ถอนตะปู ค้อนเหลียมเล็กใช้ตอกตะปูในการเดินสายไฟ

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

1)  อย่าใช้ค้อนงัดจนเกินกำลังจะทำให้ด้านค้อนหัก

2)  รักษาผิวหน้าค้อนให้ราบเรียบเสมอกัน

3)  ห้ามใช้ค้อนที่ชำรุด

4)  หลังใช้งานแล้ว  ควรเช็ดให้สะอาด  ทาด้วยน้ำมัน เก็บไว้ในที่เก็บเครื่องมือ

สว่านเจาะไม้ 

ใช้ในการเดินสายไฟมาก เพราะบางครั้งต้องเจาะรู  เพื่อยึดอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น  พุกประกับลูกถ้วย กล่องไม้  ร้อยสาย  เป็นต้น  สว่านเจาะไม้มีหลายแบบหลายขนาด  เช่น  สว่านข้อเสื่อ  สว่านเฟือง  สว่านมือชนิดกระแทก  สว่านมือด้ามเหล็กและสว่านไฟฟ้าซึ่งใช้เจาะได้ทั้งไม้และผนังตึก  ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

1) เลือกสว่านให้เหมาะสมกับงาน

2) ใส่ดอกสว่านให้ตรงแน่นก่อนใช้งาน

3) ขณะเจาะต้องตั้งดอกสว่านให้ตั้งฉากกับชิ้นงาน  จับชิ้นงานไว้ให้แน่น

4) ถ้าต้องการเจาะรูโต  ควรใช้ดอกสว่านเล็กนำก่อน

5) ขณะเจาะควรคลายให้เศษวัสดุออกบ้าง เพื่อลดแรงกด  ทั้งป้องกันมิให้ดอกสว่านร้อนหรือหัก

6) หากชิ้นงานที่เจาะเป็นไม้  ก่อนทะลุควรกลับไม้เจาะด้านตรงข้ามเพื่อป้องกันไม่ให้แตก

7) การเจาะด้วยสว่านไฟฟ้าไม่ควรล็อกปุ่มกดสวิตซ์  และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

8) เมื่อเลิกใช้งานให้ถอดคอกสว่านออกจากตัวสว่าน  ทำความสะอาด เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

หัวแร้งบัดกรี

หัวแร้งที่ใช้ในการบัดกรี เพื่อเชื่อมหรือประสาน มีอยู่ 2 ชนิดคือ หัวแร้งชนิดเผาด้วยถ่าน และหัวแร้งไฟฟ้า หัวแร้งไฟฟ้าเหมาะที่จะใช้กับงานเดินสายไฟ และงานซ่อม งานประสานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ใช้ความร้อนไม่มากนัก

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

1) ต้องรักษาปลายหัวแร้งให้สะอาดอยู่เสมอ

2) อย่าให้หัวแล้งบัดกรีร้อนจัดเกินไป

3) หัวแร้งเมื่อใช้แล้วต้องจุ่มน้ำกรดอย่างเจือจาง แล้วจึงเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

เครื่องมือวัดไฟฟ้า

เช่น มัลติมิเตอร์ ใช้วัดได้หลายอย่าง คือ โวลต์  แอมแปร์และโอห์ม

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

1) ศึกษาวิธีใช้เครื่องมือวัดให้เข้าใจก่อนใช้ เพราะหากใช้ผิดจะเกิดความเสียหายได้

2) เลือกใช้เครื่องวัดให้ถูกกับชนิดของกระแสไฟฟ้า

3) ใช้แล้วต้องเก็บรักษาให้ดี อย่าให้ตกหรือกระทบกระเทือนมาก ๆ อาจชำรุดหรือเกิดความเสียหาย