มีนาคม 12, 2022

Calibration-Bangpa-in.com

สอบเทียบเครื่องมือช่าง บางปะอิน

มีดกลึง

หลักการเลือกใช้เม็ดมีดงานกลึงและการลับมีดกลึงมีขั้นตอนอย่างไร

มีดกลึง คือ เครื่องมือที่ใช้ในการตัดเฉือนชิ้นงานให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ ในขบวนการกลึงมีความสามารถต้านทานการอ่อนตัวที่อุณหภูมิสูง ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานต่ำ ทนทานต่อการขัดสี และมีความเหนียวแน่น เพียงพอที่จะต้านทานการแตกร้าวได้ ชุดเครื่องมืออาจทำขึ้นจากวัสดุมากกว่าหนึ่งชนิด เพื่อวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน เช่น การกลึงขนาดชิ้นงานที่ต่างกัน จำต้องใช้เครื่องมือที่ต่างกัน และในการลับมีดกลึงเราต้องมีความตั้งใจในการทำงานเพราะว่าหากเราลับมีดกลึงผิดจากแบบ หรือไม่ได้มุมมีดที่ถูกต้อง จะทำให้ไม่สามารถที่จะทำการกลึงได้ เพราะมุมมีดไม่สามารถตัดเฉือนเหล็กได้ หรือทำให้อายุการใช้งานของคมตัดสั้นลง capitallaboratory

หลักการเลือกใช้เม็ดมีดงานกลึง (Turning Application)

เพื่อความคุ้มค่าในการใช้งานและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาเป็นอันดับแรกๆคือ การเลือกเม็ดมีดให้ตรงกับวัสดุชิ้นงาน ซึ่งโดยทั่วไปการออกแบบเม็ดมีดจะมีการวิเคราะห์ถึงเกรนของคาร์ไบด์ (Carbide Substrate) และปริมาณของตัวประสาน (Binder) ที่ใช้สำหรับวัสดุชิ้นงานเฉพาะและมีการทดสอบในการใช้งานจริงกับวัสดุนั้นๆ ดังนั้นผู้ใช้งานต้องชี้บ่งได้ว่าวัสดุชิ้นงานที่จะกลึงคืออะไร จากนั้นสิ่งที่ต้องพิจารณารองลงมาคือความเข้าใจถึงการเลือกเกรดเม็ดมีด

โดยทั่วไปตามมาตรฐานของผู้ผลิตเครื่องมือตัดแต่งขึ้นรูปโลหะจะมีการแบ่งแยกเกรดเม็ดมีดเป็น 3 ลำดับคือ

1) เกรดที่มีความแข็งมาก เพื่อใช้ในการกลึงงานที่ต้องการความทนทานต่อการสึกหรอและทนต่อความร้อน (High Wear Resistance and Thermal Resistance) ส่วนใหญ่ใช้สำหรับกระบวนการกลึงแบบต่อเนื่อง (Continuous Cutting)

2) เกรดที่มีความแข็งปานกลาง เพื่อใช้ในการกลึงงานทั่วไปที่ต้องการทั้งความแข็งและความเหนียวในตัวเดียวกัน (General Cutting)

3) เกรดที่มีความแข็งน้อยแต่มีความเหนียวสูง เพื่อใช้ในการกลึงที่ต้องการความทนทานต่อการแตกบิ่น (Chipping Resistance) หรือที่เรียกว่า กระบวนการกลึงแบบกระแทก (Interrupted Cutting)

ขั้นตอนการลับมีดกลึงมีขั้นตอนอย่างไร

การลับมีดกลึงเราต้องมีความตั้งใจในการทำงานเพราะว่าหากเราลับมีดกลึงผิดจากแบบ หรือไม่ได้มุมมีดที่ถูกต้อง จะทำให้ไม่สามารถที่จะทำการกลึงได้ เพราะมุมมีดไม่สามารถตัดเฉือนเหล็กได้ หรือทำให้อายุการใช้งานของคมตัดสั้นลง เมื่อนำมีดกลึง มาลับที่หน้าล้อหินเจียระไน ควรที่จะกดด้วยแรงที่พอเหมาะ ไม่ควรกดแรงเกินไป เพราะจะทำให้ผิวมีดไหม้เป็นสีดำ จะทำให้คมของมีดนั้นอ่อนไม่เหมาะที่จะนำมาใช้งานเนื่องจากมีดจะสึกหรอ และมีอายุการใช้งานสั้น

การลับมุมต่าง ๆ ของมีดกลึง จะมีวิธีลับมุมต่าง ๆ ที่คล้าย ๆ กัน จะแตกต่างกันตรงรูปร่างและมุมที่ต้องการเท่านั้น ในการลับมีดกลึงปาดหน้า หรือ มีดกลึงปอก มีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ 1.  ลับมุมคมตัด  2.  ลับมุมหลบ  3.  ลับมุมคาย  ซึ่งมีวิธีการลับ ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1  การลับคมตัดพร้อมทั้งลับมุมหลบข้าง

ขั้นตอนที่ 2  การลับมุมหลบปลายมีดพร้อมทั้งลับมุมหลบข้าง

ขั้นตอนที่ 3  การลับมุมคาย

ในการลับมีดกลึงเราต้องมีความตั้งใจในการทำงานเพราะว่าหากเราลับมีดกลึงผิดจากแบบ หรือไม่ได้มุมมีดที่ถูกต้อง จะทำให้ไม่สามารถที่จะทำการกลึงได้ เพราะมุมมีดไม่สามารถตัดเฉือนเหล็กได้ หรือทำให้อายุการใช้งานของคมตัดสั้นลง

มุมต่าง ๆ ของมีดกลึง มุมต่าง ๆ ที่สำคัญของมีดกลึง มีดังต่อไปนี้

1) มุมเอียงคมตัด เป็นมุมเอียงเพื่อลดแรงตัดเฉือน ขณะที่มีดกลึงตัดเฉือนชิ้นงาน

2) มุมหลบปลายมีด เป็นการลับหลบไม่ให้ปลายมีดเสียดสีกับผิวของชิ้นงาน

3) มุมหลบข้าง เป็นมุมหลบเพื่อไม่ให้ด้านข้างมีดสีกับชิ้นงานทำให้คมตัดเฉือนชิ้นงานได้

4) มุมรวมปลายมีด เป็นมุมที่เกิดจากการลับมุมเอียงคมตัดกับมุมหลบปลายมีด

5) มุมคาย เป็นมุมที่มีดกลึงคายเศษโลหะออกด้านข้าง ได้แก่ มุมคายของมีดกลึงปาดหน้า มีดกลึงปอก ส่วนมุมคายบน คือมุมคายที่อยู่ด้านบน แต่คายเศษโลหะเข้าหาลำตัดมีด ได้แก่ มีดกลึงตกร่อง มีดกัด เป็นต้น

การดูแลรักษาเครื่องมือมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

การกำหนดตารางการดูแลรักษาเครื่องมืออย่างสม่ำเสมอภายในโรงงานจะช่วยยืดอายุการใช้งานเครื่องมือกลึง ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้

ตรวจเช็กช่องใส่เม็ดมีด

สิ่งสำคัญคือการดูให้แน่ใจว่าช่องใส่เม็ดมีดไม่ชำรุดเสียหายขณะทำการตัดเฉือนหรือการจัดการเครื่องมือต้องมองหา

  • หลุมขนาดใหญ่ที่เกิดจากการชำรุดเสียหาย เม็ดมีดใส่ในด้านหลุมได้ไม่พอดี ใช้พิกัดขนาด 0.02 มม. (0.0008 นิ้ว) ในการตรวจสอบช่องว่าง
  • จะต้องไม่มีช่องว่างในมุมระหว่างแผ่นรองเม็ดมีดกับก้นหลุม
  • แผ่นรองเม็ดมีดที่ชำรุดเสียหาย แผ่นรองเม็ดมีดจะต้องไม่มีมุมที่กะเทาะในพื้นที่ตัดเฉือน
  • การสึกหรอของแผ่นรองเม็ดมีดที่เกิดจากการหักเศษและ/หรือการกดจากเม็ดมีด

ทำความสะอาดช่องใส่เม็ดมีด

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าช่องใส่เม็ดมีดสะอาดปราศจากฝุ่นหรือเศษโลหะที่เกิดจากการตัดเฉือน และถ้าจำเป็น ให้ทำความสะอาดช่องใส่เม็ดมีดด้วยลมอัด ในกรณีที่ใช้ด้ามกลึงคว้านที่มีหัวกัด จะต้องตรวจเช็กและทำความสะอาดระบบจับยึดระหว่างหัวกัดกับด้ามกลึงเมื่อทำการเปลี่ยนหัวกัดด้วย